โรคติดเกม (gaming disorder) เป็นการเสพติดทางพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งการเสพติดทางพฤติกรรม หมายถึง พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ มากเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ จนกระทั่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือรู้สึกทุกข์ทรมาน จากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคขององค์การอนามัยโลก ได้ให้คำนิยามการติดเกมไว้ว่า หมายถึง รูปแบบการเล่นเกมไม่ว่าจะออนไลน์หรือไม่ก็ได้ โดยเป็นการเล่นอย่างซ้ำๆ และต่อเนื่องที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. ไม่สามารถควบคุมการเล่นของตนได้
  2. ให้ความสำคัญกับการเล่นเกมมากกว่ากิจวัตรประจำวันต่างๆ
  3. ยังคงเล่นเกมหรือเล่นมากขึ้นทั้งที่การเล่นเกมนั้นก่อให้เกิดผลเสียกับตนเอง

สถานการณ์ปัญหาการติดเกม

ส่วนใหญ่ของเด็กที่เล่นเกมส์ไม่ได้เป็นโรคติดเกม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาการเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคติดเกม จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่าเด็กและวัยรุ่นไทยร้อยละ 15-50 มีปัญหาจากการเล่นเกม ข้อมูลล่าสุดพบว่า เด็กระดับชั้นมัธยมศึกษาร้อยละ 5.4 มีปัญหาติดเกม ซึ่งใกล้เคียงกับสถานการณ์การติดเกมในต่างประเทศ โดยทางองค์การอนามัยโลกได้ประมาณการติดเกมไว้ที่ร้อยละ 3-4 เพศชายมีการติดเกมมากกว่าเพศหญิง 1.4 เท่า และมักพบในวัยรุ่นอายุ 12-20ปี มากกว่าวัยเด็กหรือผู้ใหญ่-ผู้สูงอายุ

สาเหตุของการติดเกม

1.ด้านของตัวเด็กเอง

– ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

– ขาดวินัยในตนเอง

– ขาดทักษะการแก้ไขปัญหา 

– ขาดทักษะสังคม มีปัญหากับเพื่อนบ่อยๆ

– มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ และปัญหาพฤติกรรม เช่น โกหก ลักขโมย ทะเลาะวิวาท

– มีโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดสารเสพติด 

2.ด้านของครอบครัว

– มีความขัดแย้งกันในครอบครัว

– พ่อแม่ขาดสัมพันธภาพและความผูกพันที่ดีกับตัวเด็ก เช่น ไม่ทำกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน 

– ขาดกฎระเบียบเกี่ยวกับการเล่นเกมและการควบคุมกฎอย่างสม่ำเสมอ

– ขาดการสอดส่องดูแลการเล่นเกมของเด็ก

– ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่อและเล่นเกมให้แก่เด็ก

– มีโรคทางจิตเวชในครอบครัว

3.ด้านของสังคมและเกม

– มีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนในชีวิตจริง

– มีการใช้เวลากับเกมมาก

– สามารถเข้าถึงเกมได้ง่าย มีเกมในห้องนอน

– มีโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตเป็นของตัวเอง

– เกมที่มีการสวมบทบาทและเล่นกับผู้อื่น

– มีการจัดอันดับในเกม

– มีการใช้เงินเพื่อซื้อหรือสุ่มสิ่งของ หรือมีการพนัน

– มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย มีเนื้อหาโป๊เปลือย

อาการของเด็กติดเกม

1.อาการทางจิตใจ 

นอกจากเกณฑ์การติดเกมดังได้กล่าวมา ผู้ที่ติดเกมอาจแสดงอาการอื่นๆ ได้ดังนี้

– อารมณ์เสีย ขี้หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย 

– โมโห เกลี้ยวกราดอย่างมากเมื่อถูกยึดโทรศัพท์ โทรศัพท์หาย หรือไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต 

– รู้สึกผิดเมื่อไม่สามารถเล่นเกมกับเพื่อนๆ ได้ ทิ้งกลุ่มในเกมไป กังวลกลัวเพื่อนในเกมจะว่า ตำหนิตน 

– ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ในขณะเล่นเกม หงุดหงิดหัวเสียเมื่อผู้อื่นเล่นไม่ได้ดังใจ ทำให้ทีมแพ้

– รู้สึกแย่หรือเสียดายเวลาที่เอาไปทำกิจกรรมอื่นแทนที่จะเอาไปเล่นเกม 

– รู้สึกสงบ มีความสุข เมื่อได้เล่นเกม

2.อาการทางร่างกาย 

– มีอาการนอนไม่หลับ หรือเปลี่ยนแปลงเวลาการนอน นอนดึก ตื่นสาย นอนหลับในห้องเรียน 

– กินข้าวไม่เป็นเวลา รอจนกระทั่งหิวมากๆ จึงจะกิน กินอาหารไม่มีประโยชน์ น้ำหนักลดหรือน้ำหนักเพิ่ม

– ไม่ดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น ไม่อาบน้ำ ไม่ตัดผม ไม่สระผม ไม่ตัดเล็บ มีกลิ่นตัว ฯลฯ 

– ร่างกายไม่แข็งแรง ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเพิ่มจากการนั่งเล่นเกมนานและกินของหวานหรืออาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพ

– อาการทางกายอื่นๆ เช่น ปวดหัว ตาแห้ง ตาพร่ามัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คอ ไหล่ หรือมีกลุ่มอาการประสาทมือชา

 

สนับสนุนโดย.    gclub เว็บตรง