คนที่เลิกไม่ได้ : ถูกครอบงำได้ง่าย
คนที่เลิกได้ : มั่นใจเกณฑ์และการตัดสินใจของตัวเอง
เลิก “ทำตามคนอื่น” คนดีมักปรับตัวเองให้เข้ากับคนรอบข้างเพื่อเลี่ยงการปะทะกับผู้อื่นพวกเขาคิดว่าการเออออตามคนอื่นนั้นง่ายกว่าและไม่ต้องรับผิดชอบอะไรจึงมักเอาแต่ทำตามคนอื่นจนตัวตนค่อย ๆ หายไปคนที่ตัดสินใจเองไม่ได้จะถูกคนอื่นครอบงำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดี
หรือไม่ดีก็หลงเชื่อหมด เช่น “เขาบอกว่าดี” “ในโทรทัศน์เขาบอกแบบนี้”หรือ “คนในอินเทอร์เน็ตว่าอย่างนี้” ทั้งๆ ที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอีกฝ่ายคือใครหรือบางครั้งเราไม่ได้คิดว่าเงินเดือนของตัวเองน้อย
แต่พอเพื่อนร่วมงานพูดว่า “เงินเดือนบริษัทเราน้อยจังเลยเนอะ” ก็คล้อยตามไปว่า“อาจจะจริงอย่างที่เขาว่าก็ได้” ยิ่งเราตอบรับว่า “นั่นสิ” ก็จะเริ่มไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆบางครั้งอาจเรียกการได้รับอิทธิพลจากผู้อื่นง่าย ๆ ให้ดูดีว่า “เป็นคนหัวอ่อน”
แต่ การเป็นคนหัวอ่อนอาจทำให้ปิดกั้นความคิดตัวเองเพื่อน ทุกอย่างล้วนมีเหตุผลของมันการทำงานก็เช่นกัน เราทำตามที่หัวหน้าบอกเพราะมีเหตุผลที่จะทำแบบนั้น ไม่ใช่แค่ทำ “เพราะหัวหน้าสั่ง”การคิดเช่นนี้ช่วยฝึกให้เรามีเหตุผลเวลาตัดสินใจหรือทำทุกอย่างส่งผลให้เรามองเห็นและเชื่อมั่นเกณฑ์การตัดสินใจของตัวเอง
เมื่อเชื่อมั่นตัวเอง จิตใจของเราก็แข็งแกร่งและไม่สั่นคลอนไปกับความคิดเห็นของคนอื่นเลิก “เกรงใจจนเกินเหตุ”คนที่เลิกไม่ได้ : เครียดสะสม แก่เร็ว ป่วยง่ายคนที่เลิกได้ : เครียดน้อยลง ใช้ชีวิตได้อย่างสดชื่นแจ่มใสคนดีมักขี้กังวลและคิดมากแม้กับเรื่องเล็กน้อยในสายตาของคนทั่วไปพวกเขาสนใจสายตาผู้อื่นและคอยระวังคำพูดหรือการกระทำของตัวเองเสมอคนดีจึงเกิดความเครียดสะสมง่าย ทำให้อายุสั้นได้
ความเครียดที่รุนแรงทำให้สุขภาพย่ำแย่
ความเครียดในระดับที่พอดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่การมีความเครียดที่รุนแรง ซึ่งสะสมเป็นเวลานานจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจึงป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย ต่อให้ใส่ใจเรื่องอาหารการกินหรือการออกกำลังกายแค่ไหน หากสภาพจิตใจไม่แข็งแรง ร่างกายก็ย่อมไม่แข็งแรงเช่นกันแม้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการไปบ้าง แต่ผมขออธิบายถึงการทำงานของร่างกายคนเราสักหน่อยร่างกายของมนุษย์ควบคุมด้วย 2 ระบบใหญ่ๆ
คือ “ระบบประสาทอัตโนมัติ” และ “ฮอร์โมน”ระบบประสาทอัตโนมัติคือระบบประสาทที่ทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยความตั้งใจของเจ้าของร่างกาย เช่น การทำงานของหัวใจหรือลำไส้ ระบบประสาทอัตโนมัตินี้มีความสำคัญมาก แบ่งออกเป็นสองระบบย่อยๆ ที่ต้องทำงานควบคู่กันอย่างสมดุล ได้แก่ ระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งทำงานตอนกลางวัน
และระบบประสาทพาราซิมพาเทติกซึ่งทำงานตอนกลางคืนความเครียดที่รุนแรงจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุล โดยระบบประสาทซิมพาเทติกช่วยเพิ่มการทำงานของอวัยวะ ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น หลอดเลือดฝอยบีบตัว และสูบฉีดเลือดไปตามร่างกาย แต่หากเส้นเลือดส่วนปลายตีบหรืออุดตัน
เลือดก็จะไหลเวียนไม่ดี ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง และส่งผลให้การทำงานของเอนไซม์ต่างๆ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงด้วยความเครียดยังขัดขวางการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนหรือนอนหลับ เมื่อระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานได้ไม่ดี คุณภาพการนอนก็แย่ลงไปด้วย ฮอร์โมนต่างๆ
ที่ควรหลั่งออกมาขณะนอนหลับก็จะลดน้อยลง ทำให้สร้างและสลายเซลล์ทำงานแย่ลงร่างกายยังมีการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตเพื่อต่อสู้กับความเครียด แต่ในการผลิตฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ร่างกายจะสร้างสารอนุมูลอิสระ (oxidant) ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ภายในร่างกาย ซึ่งจะเข้าไปทำลายดีเอ็นเอ และยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งอีกดังนั้น หากเราปล่อยให้เกิดความเครียดสะสมและปล่อยให้ระบบ
ประสาทซิมพาเทติกทำงานเป็นหลักต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น การไหลเวียนของเลือดไม่ดี อุณหภูมิร่างกายลดลง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ”ปฏิกิริยาที่เกิดการสูญเสียอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อร่างกาย
และมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือโรคจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต (ifestyledisease) ได้ง่ายนอกจากนี้ ร่างกายยังผลิตเซลล์ได้น้อยลง ทำให้แก่เร็วหรือดูแก่กว่าวัยจึงสรุปได้ว่า คนที่ขี้เกรงใจมักมีสภาพร่างกายย่ำแย่ทั้งภายในและภายนอก
สนับสนุนโดย. ufabet ฝาก-ถอน เอง